สถานที่ท่องเที่ยว
YING
วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
ถ้ำผานางคอย
สถานที่ท่องเที่ยว"จังหวัดแพร่"
- ถ้ำผานางคอย
- ถ้ำผานางคอย
ถ้ำผานางคอย อยู่ที่บ้านผาหมู อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 40 กิโลเมตร เป็นถ้ำธรรมชาติขนาดใหญ่นี้มีความสวยงาม มีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า ถ้ำนางคอย ปัจจุบันจึ่งมักนิยมเรียกว่า ถ้ำผานางคอย ตัวถ้ำอยู่บนผาสูงประมาณ 50 เมตร หน้าถ้ำมีลานหินกว้าง ตัวถ้ำมีความลึก ที่มีลักษณะยาวขนานไปในระดับพื้นดินประมาณ 150 เมตร กว้างประมาณ 20 เมตร ภายในถ้ำเป็นพี้นดินเรียบ บางตอนมีเหวลึก ผนังถ้ำมีหินงอก หินย้อย ที่สวยงาม ส่งแสงสะท้อนเป็นประกายระยิบระยับ เมื่อต้องแสงสว่างไปตลอดความยาวของถ้ำ เมื่อเกือบถึงปากสุดของถ้ำที่ทะลุมีทางออกกว้าง ปริเวณกลางถ้ำมีหินงอกขนาดใหญ่มีลักษณะคล้ายผู้หญิงอุ้มลูกไว้ในอ้อมแขน เรียกว่า ผานางคอย เป็นจุดสำคัญของถ้ำนี้ เกือบถึงปลายถ้ำมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ให้ประชาชนได้นมัสการ
ภายในถ้ำมีหินงอก หินย้อยลักษณะต่างๆ ทั้งที่เป็นเกล็ดหินประกายระยิบระยับ หรือเป็นชะง่อนหินยาวถึงพื้นถ้ำ สุดทางของถ้ำมีก้อนหินรูปร่างคล้ายหญิงสาวนั่งอุ้มลูกน้อยรอคอยคนรัก ชาวบ้านเรียกหินก้อนนี้ว่า หินนางคอย
ตำนานที่ ๑
ณ ถ้ำแห่งนี้เองที่มีตำนานความรักระหว่างทหารต่ำศักดิ์กับเจ้าหญิง(เจ้านาง)สูงศักดิ์คู่หนึ่ง เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อ พ.ศ.1700 อาณาจักรแสนหวีมีความเจริญรุ่งเรืองมาก(สันนิษฐานว่าแสนหวีในที่นี้คือแสนหวีที่สิบสองปันนาหรือที่เชียงรุ่ง ไม่ใช่แสนหวีหลวงเมืองเงี้ยว) กษัตริย์ปกครองอย่างสงบสุข พระองค์ทรงมีราชธิดาองค์หนึ่งมีสิริโฉมงดงามมาก มีน้ำพระทัยดี มีพระนามว่า เจ้าหญิงอรัญญานี ครั้งหนึ่งเจ้าหญิงได้เสด็จโดยชลมารคแล้วเรือล่ม หัวหน้าฝีพายได้ช่วยเหลือเจ้าหญิงไว้ได้ ทั้งสองจึงเกิดรักกัน จนเจ้าหญิงทรงครรภ์ พระราชบิดาทราบเรื่องก็ทรงพิโรธ จึงได้ขังเจ้าหญิงไว้ แต่ฝ่ายชายก็หาโอกาสช่วยพาหนีลงมาทางใต้ โดยมีกองทหารไล่ตามอย่างกระชั้นชิด เมื่อมาทันที่หุบเขาแห่งหนึ่ง เจ้าหญิงถูกยิงด้วยธนู ฝ่ายชายจึงพาไปหลบซ่อนในถ้ำเพื่อรักษาพยาบาล เจ้าหญิงเห็นว่าทหารกำลังตามมา จึงให้ฝ่ายชายหนีไปก่อน และบอกว่าจะคอยฝ่ายชายอยู่ในถ้ำนี้ตลอดไป ถ้ำนี้จึงได้ชื่อว่า ถ้ำผานางคอย หรือถ้ำนางคอย
ณ ถ้ำแห่งนี้เองที่มีตำนานความรักระหว่างทหารต่ำศักดิ์กับเจ้าหญิง(เจ้านาง)สูงศักดิ์คู่หนึ่ง เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อ พ.ศ.1700 อาณาจักรแสนหวีมีความเจริญรุ่งเรืองมาก(สันนิษฐานว่าแสนหวีในที่นี้คือแสนหวีที่สิบสองปันนาหรือที่เชียงรุ่ง ไม่ใช่แสนหวีหลวงเมืองเงี้ยว) กษัตริย์ปกครองอย่างสงบสุข พระองค์ทรงมีราชธิดาองค์หนึ่งมีสิริโฉมงดงามมาก มีน้ำพระทัยดี มีพระนามว่า เจ้าหญิงอรัญญานี ครั้งหนึ่งเจ้าหญิงได้เสด็จโดยชลมารคแล้วเรือล่ม หัวหน้าฝีพายได้ช่วยเหลือเจ้าหญิงไว้ได้ ทั้งสองจึงเกิดรักกัน จนเจ้าหญิงทรงครรภ์ พระราชบิดาทราบเรื่องก็ทรงพิโรธ จึงได้ขังเจ้าหญิงไว้ แต่ฝ่ายชายก็หาโอกาสช่วยพาหนีลงมาทางใต้ โดยมีกองทหารไล่ตามอย่างกระชั้นชิด เมื่อมาทันที่หุบเขาแห่งหนึ่ง เจ้าหญิงถูกยิงด้วยธนู ฝ่ายชายจึงพาไปหลบซ่อนในถ้ำเพื่อรักษาพยาบาล เจ้าหญิงเห็นว่าทหารกำลังตามมา จึงให้ฝ่ายชายหนีไปก่อน และบอกว่าจะคอยฝ่ายชายอยู่ในถ้ำนี้ตลอดไป ถ้ำนี้จึงได้ชื่อว่า ถ้ำผานางคอย หรือถ้ำนางคอย
ตำนานที่ ๒
อีกตำนานบอกว่า หัวหน้าฝีพายพานางหนีไปอยู่ในถ้ำ และออกไปหาอาหาร เคราะห์ร้ายทหารตามมาพบและจัดการสังหารเขาเสีย องค์หญิงรู้ว่า สามีคงเสียชีวิตแล้ว จึงตั้งอธิษฐานว่า จะรอคอยให้สามีกลับมาตลอดไป ด้วยอานุภาพสัจจะ นางจึงกลายเป็นหิน เงยหน้ามองปากถ้ำ รอคอยการกลับมาของชายคนรักจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้.
ตำนานที่ ๓
อีกตำนานบอกว่า เมื่อเจ้าครองนครทรงทราบก็สั่งให้ทหารออกติดตามคนทั้งสอง ทหารขี่ม้าทันทั้งสองคนที่ซอกเขาแห่งหนึ่ง และยิงธนูไปหมายจะเอาชีวิตชายหนุ่ม แต่ธนูพลาดไปถูกนางอรัญญนีได้รับบาดเจ็บสาหัส สามีของนางจึงพานางเข้าไปหลบซ่อนอยู่ในถ้ำ นางอรัญญนีรู้ตัวว่า คงไม่รอดชีวิต จึงขอร้องให้สามีหนีเอาตัวรอดโดยให้สัญญาว่าจะรออยู่ที่ถ้ำแห่งนี้
ตลอดไป ชาย หนุ่มจึงจำใจต้องจากไปตามคำขอร้องของนาง ส่วนนางอรัญญนีก็นั่งมองดูสามีควบม้าหนีห่างไปจนลับตา และสิ้นใจตายอยู่ในถ้ำแห่งนั้นลานที่นางนั่งดูสามีควบม้าจากไปนั้น ต่อมาเรียกว่า ลาน นางคอย ส่วนถ้ำแห่งนั้นก็ได้ชื่อว่า ถ้ำผานาง
รายละเอียด
ถ้ำผานางคอย ตัวถ้ำอยู่บนหน้าผาสูง 50 เมตร
เป็นอุโมงค์ลึกยาว 150 เมตร กว้าง 10 เมตร
ลักษณะของถ้ำโค้งงอเป็นข้อศอกไปทางซ้าย
และทางขวาเป็น 3 ตอนด้วยกัน ภายในถ้ำมีหินงอก
หินย้อยลักษณะต่างๆ ทั้งที่เป็นเกล็ดหินประกายระยิบระยับ
การเดินทาง
อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 34 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายแพร่ - ร้องกวาง (ทางหลวงหมายเลข 101)ถึงกิโลเมตรที่ 58 - 59 เลี้ยวซ้ายเข้าไปอีก 800 เมตร
ถ้ำผานางคอย ตัวถ้ำอยู่บนหน้าผาสูง 50 เมตร
เป็นอุโมงค์ลึกยาว 150 เมตร กว้าง 10 เมตร
ลักษณะของถ้ำโค้งงอเป็นข้อศอกไปทางซ้าย
และทางขวาเป็น 3 ตอนด้วยกัน ภายในถ้ำมีหินงอก
หินย้อยลักษณะต่างๆ ทั้งที่เป็นเกล็ดหินประกายระยิบระยับ
การเดินทาง
อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 34 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายแพร่ - ร้องกวาง (ทางหลวงหมายเลข 101)ถึงกิโลเมตรที่ 58 - 59 เลี้ยวซ้ายเข้าไปอีก 800 เมตร
อุทยานแห่งชาติแพะเมืองผี
สถานที่ท่องเที่ยว"จังหวัดแพร่"
- อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย
- อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย
อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของจังหวัดแพร่ มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่ อำเภอลอง อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ และอำเภอเถิน อำเภอสบปราบ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง มีสภาพป่าภูเขาสูงสลับซับซ้อน ทิวทัศน์และน้ำตกสวยงามหลายแห่ง เช่น น้ำตกแม่เกิ๋งหลวง น้ำตกแม่เกิ๋งน้อย และมีบ่อน้ำแร่แม่จอก ซึ่งเป็นบ่อน้ำร้อน ทั้งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญ เนื้อที่ประมาณ 410 ตารางกิโลเมตร หรือ 256,250 ไร่ ได้ประกาศจัดตั้งให้เป็น "อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย" เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2524
ลักษณะภูมิประเทศ
• ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงชัน
ความลาดชันโดยเฉลี่ยประมาณ 80 องศา จุดสูงสุดจากระดับน้ำทะเล 1,267 เมตร
ความสูงของพื้นที่จากระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ยประมาณ 800 เมตร
ปกคลุมด้วยป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณเป็นเทือกเขาที่เขียวชอุ่ม
มีหน้าผาสูงชันสลับซับซ้อนเป็นแหล่งกำเนิดของลำห้วยหลายสาย เช่น แม่เกิ๋ง แม่จอก
แม่สิน แม่ป้าก และภูเขาเป็นภูเขาหินทราย
ทำให้ดินที่เกิดจากการผุสลายของภูเขาเป็นดินร่อนปนทราย มีการระบายน้ำดี
บริเวณที่ราบเชิงเขามีลักษณะเป็นลูกรัง โดยเฉลี่ยดินมีความอุดมสมบูรณ์ดีมาก
ลักษณะภูมิอากาศ
• ภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย
แบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาล คือ ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม
อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 39 องศาเซลเซียส ในเดือนเมษายน
ฤดูฝนระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์
อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 13 องศาเซลเซียส ในเดือนธันวาคม
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
• สภาพป่าตอนบนของเทือกเขามีลักษณะเป็นป่าดิบแล้งส่วนตอนล่างมีลักษณะเป็นป่าเบญจพรรณ
พรรณไม้ที่สำคัญ ได้แก่ มะค่าโมง ยาง ดำดง ตะแบก ประดู่ แดง และไม้สัก
ซึ่งขึ้นอยู่ปะปนบ้าง ส่วนไม้พื้นล่างเป็นพวกไม้ไผ่ชนิดต่าง ๆ ปาล์ม หวาย
และเอื้องดิน เป็นต้น
• สัตว์ป่าที่เคยพบอาศัยอยู่ในป่าแห่งนี้มี กวาง
เสือ และช้างป่า แต่ถูกลักลอบเข้ามาล่าอย่างหนัก เหลือแต่สัตว์ขนาดเล็ก ๆ เช่น
เก้ง หมูป่า กระรอก กระแต และนกชนิดต่างๆ มีชุกชุมอยู่ในบริเวณหุบเขา
และแหล่งน้ำต่าง ๆ
บ้านพัก-บริการ
• อุทยานแห่งชาติเวียงโกสัย มีบ้านพัก
ห้องประชุมและสถานที่กางเต้นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยว
• ดงตะเคียน
มีลักษณะเป็นกลุ่มของไม้ตะเคียนทองที่ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น อายุ 100 กว่าปี
มีขนาดใหญ่สุด 3-4 คนโอบ อยู่ห่างจากที่ทำการฯ 15 กม. โดยใช้ทางเดินเท้า
• น้ำตกปันเจน
เป็นน้ำตกขนาดเล็กอยู่บนลำห้วยแม่เกิ๋งเช่นเดียวกับน้ำตกแม่เกิ๋งหลวงเดินทางต่อจากที่ทำการอุทยานฯไป
1 กม. จะพบทางแยกขวาข้างโรงเรียนบ้านค้างใจ ไปตามทางอีก 6 กม. จะถึงน้ำตก
• น้ำตกแม่เกิ๋งหลวงและแม่เกิ๋งน้อย
เป็นน้ำตกที่สวยงาม น้ำตกไหลลดหลั่นลงมาเป็นชั้น ๆ รวม 5 ชั้น คล้ายชั้นบันได
ลงมาจากยอดดอยแม่เกิ๋ง ซึ่งคำว่า “แม่เกิ๋ง” เป็นภาษาพื้นเมืองหมายถึง
“ชั้นบันได” น้ำตกทั้งสองสายนี้จะไหลลงสู่แม่น้ำยมที่บ้านสบเกิ๋ง
อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่
• น้ำตกแม่สิน
เป็นน้ำตกขนาดเล็กมีน้ำไหลตลอดปีท่านสามารถเดินทางโดยเท้าจากที่ทำการอุทยานฯระยะทางประมาณ
4 กิโลเมตร
• บ่อน้ำร้อนแม่จอก อยู่ติดกับโรงเรียนบ้านแม่จอก
ต.แม่ป้าก อ.วังชิ้น จ.แพร่
เป็นบ่อน้ำร้อนที่ผุดขึ้นมาจากพื้นที่บริเวณนั้นมีอุณหภูมิประมาณ 80 องศาเซลเซียส
มีลักษณะที่แปลกและสวยงามมาก โดยเฉพาะในตอนเช้าจะมีหมอกควันที่เกิดจากไอน้ำลอยอยู่เต็ม
ก่อให้เกิดทัศนียภาพที่สวยงาม
• เถาวัลย์ยักษ์ เป็นเถาสบ้าขนาดใหญ่
อยู่ห่างจากที่ทำการฯ 1 กม.
การเดินทาง
• รถยนต์ จากกรุงเทพฯผ่านจังหวัดนครสวรรค์ –
พิษณุโลก – ถึงอำเภอเด่นชัย จ.แพร่ ระยะทางประมาณ
530 กิโลเมตร เดินทางต่อไปตามเส้นทางแพร่-ลำปาง อีกประมาณ 50 กิโลเมตร
ถึงทางแยกเข้าอำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ แยกเข้าตามเส้นทางอำเภอวังชิ้น ประมาณ 13
กิโลเมตร ถึงแยกเข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติบริเวณน้ำตกแม่เกิ๋งหลวงและแม่เกิ๋งน้อย
ระยะทาง 1.5 กิโลเมตร
สถานที่ติดต่อ
• อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย ตู้ ปณ. 1 อ.วังชิ้น
จ.แพร่ 54160
วัดพระธาตุช่อแฮ
สถานที่ท่องเที่ยว"จังหวัดแพร่"
- วัดพระธาตุช่อแฮ
วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง เป็นวัดศักดิ์สิทธิ์ เก่าแก่ คู่บ้าน คู่เมืองจังหวัดแพร่และเป็นวัดพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีขาล
- วัดพระธาตุช่อแฮ
วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง เป็นวัดศักดิ์สิทธิ์ เก่าแก่ คู่บ้าน คู่เมืองจังหวัดแพร่และเป็นวัดพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีขาล
วัดพระธาตุช่อแฮ
พระธาตุช่อแฮ เป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวจังหวัดแพร่มาช้านาน เป็นพระธาตุประจำปีเกิดปีขาล(เสือ) หากว่าผู้ที่เกิดปีขาลนำผ้าแพรสามสีมาถวายจะทำให้ชีวิตมีพลังคุ้มครอง ป้องกันศัตรูได้ องค์พระธาตุช่อแฮเป็นเจดีย์ที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุ และพระบรมสารีริกธาตุพระศอกซ้ายของพระพุทธเจ้า เป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ศิลปะเชียงแสน สูง 33 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 11 เมตร สร้างด้วยอิฐโบกปูนหุ้มด้วยแผ่นทองเหลืองลงรักปิดทอง องค์พระธาตุตั้งอยู่บนฐานเขียงสี่เหลี่ยม 1 ชั้น ถัดขึ้นไปเป็นฐานหน้ากระดานแปดเหลี่ยม 3 ชั้นรองรับ ถัดไปเป็นฐานบัวคว่ำและชุดท้องไม้แปดเหลี่ยม ซ้อนลดชั้นกันขึ้นไป 7 ชั้น จากนั้นเป็นบัวระฆัง 1 ชั้น และหน้ากระดานหนึ่งชั้น จนถึงองค์ระฆังแปดเหลี่ยม ถัดขึ้นไปเป็นบัลลังค์ย่อมุมไม้สิบสองและปล้องไฉน ส่วนยอดฉัตรประดับตกแต่งด้วยเครื่องบนแบบล้านนา หุ้มด้วยทองเหลืองที่ตีแผ่เป็นแผ่นบางตลอดทั้งองค์ มีรั้วเหล็กรอบองค์พระธาตุ 4 ทิศ มีประตูเข้าออก 4 ประตู แต่ละประตูได้สร้างซุ้มแบบปราสาทล้านนาไว้อย่างสวยงาม สำหรับชื่อพระธาตุช่อแฮนั้น บ้างว่าได้มาจากชื่อผ้าแพรชั้นดีซึ่งทอจากสิบสองปันนา และชาวบ้านนำมาผูกบูชาพระธาตุ บ้างก็ว่ามาจากผ้าแพรที่ขุนลัวะอ้ายก๊อมนำมาถวาย
ความเป็นมาของพระธาตุช่อแฮ
ความเป็นมาของพระธาตุช่อแฮ สืบได้หลายทางแต่ จากพระราชพงศาวดารว่าด้วยกรุงสุโขทัย หอสมุดแห่งชาติ กล่าวถึงวัดพระธาตุช่อแฮว่า สร้างขึ้นระหว่างจุลศักราช 586 - 588 (พ.ศ. 1879 - 1881)ในสมัยที่พระมหาธรรมราชาธิราช (ลิไท) ยังทรงเป็นพระมหาอุปราช ครองเมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก) พระองค์มีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา และทรงวางแบบแผนคณะสงฆ์ตามลังกาทวีป โปรดจัดให้มีพระสงฆ์ 2 ฝ่าย คือ คามวาสี ศึกษาพระธรรมวินัย เพื่อสั่งสอนคน และอรัญญวาสี ศึกษาวิปัสสนา มุ่งความสงบแห่งจิตใจ นอกจากนั้นยังทรงทะนุบำรุงพระพุทธศานาโดยโปรดให้สร้างสถานที่ทางศาสนาตาม ที่ปรากฏในพุทธประวัติในที่ต่างๆและทางเลือกสถานที่ยอดดอยโกสิยธชัคคะจึง โปรดให้สร้างพระเจดีย์ 1 องค์ และขนานนามตามความหมายของยอดดอยว่า "พระธาตุช่อแฮ"
พระธาตุช่อแฮ เป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวจังหวัดแพร่มาช้านาน เป็นพระธาตุประจำปีเกิดปีขาล(เสือ) หากว่าผู้ที่เกิดปีขาลนำผ้าแพรสามสีมาถวายจะทำให้ชีวิตมีพลังคุ้มครอง ป้องกันศัตรูได้ องค์พระธาตุช่อแฮเป็นเจดีย์ที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุ และพระบรมสารีริกธาตุพระศอกซ้ายของพระพุทธเจ้า เป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ศิลปะเชียงแสน สูง 33 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 11 เมตร สร้างด้วยอิฐโบกปูนหุ้มด้วยแผ่นทองเหลืองลงรักปิดทอง องค์พระธาตุตั้งอยู่บนฐานเขียงสี่เหลี่ยม 1 ชั้น ถัดขึ้นไปเป็นฐานหน้ากระดานแปดเหลี่ยม 3 ชั้นรองรับ ถัดไปเป็นฐานบัวคว่ำและชุดท้องไม้แปดเหลี่ยม ซ้อนลดชั้นกันขึ้นไป 7 ชั้น จากนั้นเป็นบัวระฆัง 1 ชั้น และหน้ากระดานหนึ่งชั้น จนถึงองค์ระฆังแปดเหลี่ยม ถัดขึ้นไปเป็นบัลลังค์ย่อมุมไม้สิบสองและปล้องไฉน ส่วนยอดฉัตรประดับตกแต่งด้วยเครื่องบนแบบล้านนา หุ้มด้วยทองเหลืองที่ตีแผ่เป็นแผ่นบางตลอดทั้งองค์ มีรั้วเหล็กรอบองค์พระธาตุ 4 ทิศ มีประตูเข้าออก 4 ประตู แต่ละประตูได้สร้างซุ้มแบบปราสาทล้านนาไว้อย่างสวยงาม สำหรับชื่อพระธาตุช่อแฮนั้น บ้างว่าได้มาจากชื่อผ้าแพรชั้นดีซึ่งทอจากสิบสองปันนา และชาวบ้านนำมาผูกบูชาพระธาตุ บ้างก็ว่ามาจากผ้าแพรที่ขุนลัวะอ้ายก๊อมนำมาถวาย
ความเป็นมาของพระธาตุช่อแฮ
ความเป็นมาของพระธาตุช่อแฮ สืบได้หลายทางแต่ จากพระราชพงศาวดารว่าด้วยกรุงสุโขทัย หอสมุดแห่งชาติ กล่าวถึงวัดพระธาตุช่อแฮว่า สร้างขึ้นระหว่างจุลศักราช 586 - 588 (พ.ศ. 1879 - 1881)ในสมัยที่พระมหาธรรมราชาธิราช (ลิไท) ยังทรงเป็นพระมหาอุปราช ครองเมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก) พระองค์มีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา และทรงวางแบบแผนคณะสงฆ์ตามลังกาทวีป โปรดจัดให้มีพระสงฆ์ 2 ฝ่าย คือ คามวาสี ศึกษาพระธรรมวินัย เพื่อสั่งสอนคน และอรัญญวาสี ศึกษาวิปัสสนา มุ่งความสงบแห่งจิตใจ นอกจากนั้นยังทรงทะนุบำรุงพระพุทธศานาโดยโปรดให้สร้างสถานที่ทางศาสนาตาม ที่ปรากฏในพุทธประวัติในที่ต่างๆและทางเลือกสถานที่ยอดดอยโกสิยธชัคคะจึง โปรดให้สร้างพระเจดีย์ 1 องค์ และขนานนามตามความหมายของยอดดอยว่า "พระธาตุช่อแฮ"
การเดินทางไปยังวัดพระธาตุช่อแฮ
ตั้งอยู่ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ ห่างจากตัวเมืองแพร่ไปตามถนนช่อแฮ ประมาณ 9 กิโลเมตร (เส้นทางหลวงหมายเลข 1022)
ตั้งอยู่ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ ห่างจากตัวเมืองแพร่ไปตามถนนช่อแฮ ประมาณ 9 กิโลเมตร (เส้นทางหลวงหมายเลข 1022)
หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง จังหวัดแพร่ โทร.054-599209 โทรสาร 054-63324
วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง จังหวัดแพร่ โทร.054-599209 โทรสาร 054-63324
แพะเมืองผี
สถานที่ท่องเที่ยว "จังหวัดแพร่"
- แพะเมืองผี
แพะเมืองผีอยู่บนเนื้อที่ประมาณ 500 ไร่ เกิดจากสภาพภูมิประเทศซึ่งเป็นดิน และหินทรายถูกกัดเซาะตามธรรมชาติเป็นรูปร่างลักษณะต่างๆประวัติความเป็นมา วนอุทยานแพะเมืองผี เป็นหน่วยงานสังกัดสำนักบริหาร จัดการในพื้นที่อนุรักษ์ 13 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ได้มีการประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยาน เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2524 มีเนื้อที่ 167 ไร่ เป็นสถานที่มีความสวยงามด้าน ธรณีวิทยา หน้าผา เสาดิน และเส้นทางศึกษาธรรมชาติ..........."แพะเมืองผี " มีตำนานเล่าขานถึงความศักดิ์สิทธิ์ ความลี้ลับจนเป็นความเชื่อของคนในท้องถิ่นที่บรรพบุรุษได้เล่าสืลต่อกันมาว่า มียายชราคนหนึ่ง เข้าไปในป่าถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้พบหลุมเงินหลุมทองยายชราพยายามจะเอาเงิน เอาทองใส่หาบกลับบ้าน แต่เทพยาดาอารักษ์ไม่ให้เอาไปเพียงแต่เอาอวดให้เห็นเท่านั้น พอไปตามชาวบ้านมาดูก้พบแต่รอบเท้า หาบเงิน หาบทอง หายไป ชาวบ้านจึงเรียกสถานที่นี้ว่า "แพะเมืองผี"
อยู่ในท้องที่ตำบลแม่หล่าย ตำบลน้ำชำ ตำบลทุ่งทุ่งโฮ่ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่
การเดินทาง
- แพะเมืองผี
แพะเมืองผีอยู่บนเนื้อที่ประมาณ 500 ไร่ เกิดจากสภาพภูมิประเทศซึ่งเป็นดิน และหินทรายถูกกัดเซาะตามธรรมชาติเป็นรูปร่างลักษณะต่างๆประวัติความเป็นมา วนอุทยานแพะเมืองผี เป็นหน่วยงานสังกัดสำนักบริหาร จัดการในพื้นที่อนุรักษ์ 13 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ได้มีการประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยาน เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2524 มีเนื้อที่ 167 ไร่ เป็นสถานที่มีความสวยงามด้าน ธรณีวิทยา หน้าผา เสาดิน และเส้นทางศึกษาธรรมชาติ..........."แพะเมืองผี " มีตำนานเล่าขานถึงความศักดิ์สิทธิ์ ความลี้ลับจนเป็นความเชื่อของคนในท้องถิ่นที่บรรพบุรุษได้เล่าสืลต่อกันมาว่า มียายชราคนหนึ่ง เข้าไปในป่าถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้พบหลุมเงินหลุมทองยายชราพยายามจะเอาเงิน เอาทองใส่หาบกลับบ้าน แต่เทพยาดาอารักษ์ไม่ให้เอาไปเพียงแต่เอาอวดให้เห็นเท่านั้น พอไปตามชาวบ้านมาดูก้พบแต่รอบเท้า หาบเงิน หาบทอง หายไป ชาวบ้านจึงเรียกสถานที่นี้ว่า "แพะเมืองผี"
อยู่ในท้องที่ตำบลแม่หล่าย ตำบลน้ำชำ ตำบลทุ่งทุ่งโฮ่ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่
การเดินทาง
ตั้งอยู่ที่ตำบลน้ำชำ ใช้เส้นทางหลวงสายแพร่ - น่าน ทางหลวงหมายเลข 101 ไปประมาณ 12 กิโลเมตร แล้วแยกขวาเข้าไปอีก 6 กิโลเมตร ตั้งอยู่ที่ หมู่ 2 ตำบลน้ำชำ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดแพร่ ประมาณ 15 กิโลเมตร
แพะเมืองผี : ผืนดินแห่งตำนาน
• แพะเมืองผี ตั้งอยู่ระหว่างตำบลทุ่งโฮ้ง และตำบลน้ำชำ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ห่างจากตัวเมืองราว 15 กิโลเมตร บนเส้นทางสายแพร่ – ร้องกวาง แยกตรงกิโลเมตรที่ 9 เข้าไปอีก 6 กิโลเมตร โดยสถานที่ตั้งของแพเมืองผีมีลำธารสายเล็กๆ ไหลผ่าน ในสมัยโบราณเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ ชาวบ้านตำบลทุ่งโฮ้ง และใกล้เคียงให้ความนับถือมาก เพราะมีประวัติความเป็นมาที่ลึกลับโดยคนโบราณเล่าสืบต่อกันมาว่า มียายแก่เข้าไปเที่ยวในป่าหาผักหน่อไม้มาเป็นอาหาร ได้หลงไปในที่แห่งนี้แล้วพบหลุมเงินหลุมทองจึงเอาเงินเอาทองใส่หาบจนเต็มแล้วยกใส่บ่าเพื่อจะหาบกลับบ้านแต่ก็หลงไปหลงมาในป่าแห่งนั้น เพราะเทวดาเจ้าถิ่นนั้นไม่ให้เอาไป เพียงแต่เอามาอวดให้เห็น ยายผู้นั้นจึงหาหนทางเอาหาบนั้นกลับบ้านไม่ได้ จึงได้วางหาบนั้นไว้แล้วจัดแจงตัดไม้มาคาดทำเป็นราว แต่ก็ยังไม่สามารถนำหาบเงินหาบทองนั้นออกมาได้สักที ยิ่งยกเท้าไปข้างหน้าก็ยิ่งเหมือนยกถอยหลังไปอีกเหมือนหนึ่งว่ามีคนดึงหาบนั้นไว้ ยายแก่จึงวางหาบไว้ที่นั่นแล้วรีบไปบอกชาวบ้านให้มาดูหาบเงินหาบทองนั้น พอชาวบ้านหลั่งไหลไปเป็นจำนวนมาก ครั้นเมื่อไปถึงเงินทองนั้นกลับหายไปตามป่านั้น เมื่อพบรอยเท้าจึงสะกดจามรอยเท้าไปจนถึงเสาเมโร และไม่มีรอยปรากฏไปทางอื่นเลย ยายแก่กับชาวบ้านจึงได้ตั้งชื่อสถานที่นี้ว่า “แพะเมืองผี”
• แพะ หมายถึง ป่าละเมาะ
• เมืองผี หมายถึง ความเงียบเหงาเหมือนเมืองผี
• เสาเมโร หมายถึง เสารูปเหมือนปราสาทศพผู้ตายทางภาคเหนือ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)